วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบทบัญญัติบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทบัญญัติลักษณะ ๒๓ สมาคม ของบรรพ ๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๕”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ ๑ และบรรพ ๓ ดังต่อไปนี้
(๑)  ให้ยกเลิกบทบัญญัติบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ ๑ และบรรพ ๒ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๔๖๘
(๒) ให้ยกเลิกลักษณะ ๒๓ สมาคม ของบรรพ ๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ ๓ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. ๒๔๗๑
(๓)  ให้ใช้บทบัญญัติท้ายพระราชบัญญัตินี้เป็นบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่
มาตรา ๔ เอกสารที่มีการใช้ตราประทับแทนการลงลายมือชื่อตามมาตรา ๙ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ซึ่งได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลสมบูรณ์เสมือนกับลงลายมือชื่อต่อไป
มาตรา ๕ บทบัญญัติบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการให้กู้ยืมเงินที่ผู้เสมือนไร้ความสามารถได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖ ผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ที่ศาลได้ตั้งขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากยังมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือจัดทำยังไม่แล้วเสร็จ ให้จัดทำให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้นำมาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ
มาตรา ๗ ให้องค์กรหรือหน่วยงานที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นทบวงการเมืองตามความหมายของมาตรา ๗๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งถูกยกเลิกโดยมาตรา ๓ (๑) แห่งพระราชบัญญัตินี้ คงมีฐานะเป็นนิติบุคคลต่อไป
มาตรา ๘ ให้บรรดาสมาคมที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสมาคมตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
สมาคมใดที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “สมาคม” ประกอบกับชื่อของสมาคมให้ยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา ๘๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๙ สมาคมตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง สมาคมใด มีวิธีจัดการโดยไม่มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมตามมาตรา ๗๙ (๖) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ถ้าสมาคมนั้นไม่ดำเนินการยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของสมาคมและจัดให้มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียน
มาตรา ๑๐ สมาคมตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง สมาคมใด มีสมาชิกไม่ถึงสิบคน หากสมาคมนั้นไม่ได้จัดให้มีจำนวนสมาชิกตามมาตรา ๘๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนตามมาตรา ๑๐๒ (๕) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๑ ให้บรรดามูลนิธิที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นมูลนิธิตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ และให้ถือว่าตราสารก่อตั้งมูลนิธิดังกล่าวเป็นข้อบังคับของมูลนิธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มูลนิธิใดที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “มูลนิธิ” ประกอบกับชื่อของมูลนิธิ ให้ยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิให้ถูกต้องตามมาตรา ๑๑๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒ บรรดามูลนิธิที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและมิได้เป็นนิติบุคคลถ้าประสงค์จะจัดตั้งเป็นนิติบุคคลและใช้คำว่า “มูลนิธิ” ประกอบชื่อของตนต่อไป ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนตามมาตรา ๑๑๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๓ มูลนิธิตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง มูลนิธิใด มีข้อบังคับที่กำหนดให้มีผู้จัดการของมูลนิธิไม่ถึงสามคนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามูลนิธินั้นไม่ดำเนินการยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิเพื่อให้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคคลไม่น้อยกว่าสามคนเป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา ๑๒๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้เพื่อสั่งการให้แก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปถ้าปรากฏว่ามูลนิธิใดไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ก็ให้นายทะเบียนร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิตามมาตรา ๑๓๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๔ บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๒๓ สมาคม ของบรรพ ๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ
มาตรา ๑๕ ให้แก้เลขมาตราตามที่มีอยู่ในมาตราต่างๆ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นเลขมาตราตามบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑)  “มาตรา ๙ วรรคสองและวรรคสาม” ในมาตรา ๑๖๖๖ ให้แก้เป็น “มาตรา ๙ วรรคสอง”
(๒)  “มาตรา ๒๙” ในมาตรา ๑๔๖๔ และมาตรา ๑๕๑๙ ให้แก้เป็น “มาตรา ๒๘”
(๓) “มาตรา ๓๔” ในมาตรา ๑๖๑๐ และมาตรา ๑๖๑๑ ให้แก้เป็น “มาตรา ๓๒”
(๔)  “มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๓” ในมาตรา ๑๕๗๗ ให้แก้เป็น “มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๖๐”
(๕)  “มาตรา ๖๕” ในมาตรา ๑๖๐๒ ให้แก้เป็น “มาตรา ๖๒”
(๖)  “มาตรา ๖๖” ในมาตรา ๑๖๐๒ ให้แก้เป็น “มาตรา ๖๓”
(๗)  “มาตรา ๘๑” ในมาตรา ๑๖๗๖ ให้แก้เป็น “มาตรา ๑๑๐”
(๘)  “มาตรา ๘๕” ในมาตรา ๑๖๗๗ ให้แก้เป็น “มาตรา ๑๑๔”
(๙)  “มาตรา ๑๓๐ วรรคสอง” ในมาตรา ๓๖๐ ให้แก้เป็น “มาตรา ๑๖๙ วรรคสอง”
(๑๐) “มาตรา ๑๘๙” ในมาตรา ๒๔๘ และมาตรา ๑๗๕๔ ให้แก้เป็น “มาตรา ๑๙๓/๒๗”
มาตรา ๑๖ บทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นที่อ้างถึงบทบัญญัติในบรรพ ๑ หรือลักษณะ ๒๓ ในบรรพ ๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นอ้างถึงบทบัญญัติที่มีนัยเช่นเดียวกันในบรรพ ๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๗ บรรดากฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๙๗ และมาตรา ๑๒๙๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๑๘ ให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

กฎหมายพาณิชย์

กฏหมายพาณิชย์คือ


กฎหมายพาณิชย์  คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น            

ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก            

เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัด


ความหมายของกฎหมานแพ่ง

ความหมายของกฏหมายแพ่ง



กฎหมายแพ่ง
1. กฎหมายแพ่ง     คือกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวกับครอบครัวเป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเองและครอบครัว ดังนี้
1.1 การหมั้น  เป็นการที่หญิงชายตกลงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกัน  การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบทรัพย์อันเป็นของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิง  แต่ในการสมรสนั้นไม่ได้บังคับว่าจะมีการหมั้นก่อน แต่ถ้าหมั้นก็จะมีผลผูกพันกัน   ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น  เช่น  ของหมั้นจะตกเป้นสิทธิแก่หญิงทันที เมื่อมีการหมั้นแล้ว  ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย  ฝ่ายหญิงก็ไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายเป็นต้น 
เกณฑ์การหมั้นตามกฎหมายนั้น  คือ  ชาย หญิงจะหมั้นต้องมีอายุครบ  20  ปีบริบูรณ์จึงจะมีอำนาจที่จะทำการหมั้นได้โดยลำพังตนเอง แต่ถ้ามีอายุครบ 17  ปีบริบูรณ์จะทำการหมั้นได้ต้องมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองยินยอมก่อน  เป็นต้น
       การหมั้นที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นถือเป็นโมฆะ  เหตุที่กฎหมายกำหนดอายุของหญิงและชายไว้  ก็เพราะการหมั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของชายและหญิง  เมื่อจะทำสัญญาหมั้นกันจึงควรให้ชายและหญิงที่จะหมั้นอยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้นได้ตามสมควร  กฎหมายถือว่าชายหญิงที่มีอายุต่ำกว่า  17  ปีบริบูรณ์  ไม่อยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้น  การสมรส แม้บิดามารดาจะยินยอมก็ตามเ
1.2  การรับรองบุตร  เป็นการให้การยอมรับบุตรซึ่งเกิดจากหญิงที่เป็นภรรยาโดยมได้จดทะเบียนสมรส  ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิง  แต่เป็นบุตรนอกกฎหมายของชาย  กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้ชายจดทะเบียนรับรองบุตร  ซึ่งจะทำให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันที่ชายจดทะเบียน  แต่ถ้าเป็นบุตรนอกสมรสแต่ต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันก็ไม่ต้องจดทะเบียบรับรองบุตรอีก   การจดทะเบียนบุตรมี 2 วิธี คือการรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดา และการรับรองบุตรโดยคำพิพากษาของศาลให้เด็กผู้นั้นเป็นบุตรของชายผู้เป็นบิดา
1.3 กฎหมายแพ่งเกียวกับมรดก
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับมรดกกำหนดว่าเมื่อบุคคลใดตาย   และทำพินัยกรรมไว้  มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่ผู้ตายระบุไว้ในพินัยกรรม  หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่เป็นทายาทและคู่สมรส
    กองมรดก  ได้แก่  ทรัพย์ทุกชนิดของผู้ตาย  รใมทั้งสิทธิและหน้าที่   ตลอดทั้งความรับผิดชอบต่างๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน  เป็นต้นว่าหนี้สิน  เว้นแต่กฎหมาย หรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เช่นสิทธิในการเข้าสอบ  หรือสิทธิในการมีอาวุธปืน  การตายของเจ้าของมรดกมีความยหมาย สองกรณี  คือตายหรือสิ้นชีวิตไปตามจริงตามใบมรณบัตร หรือศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ บุคคลที่จะได้รับมรดกของผู้ตายได้แก่  ทายาท  วัด  แผ่นดิน  บุคคลภายนอกนี้ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลย
ทายาทแบ่งออกเป็นสองประเภท 
1. ทายาทโดยธรรม  เป็นทายาทตามสิทธิกฎหมาย  ได้แก่  ญาติ  และคู่สมรส  และทายาทที่แบ่งออกเป็นหกชั้นคือ
1.1 ผู้สืบสันดาน
1.2 บิดามารดา
1.3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
1.4 พี่น้องที่ร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
1.5 ปู่ย่า  ตายาย
1.6 ลุง  ป้า  น้า อา
2.ผู้รับพินัยกรรม  พินัยกรรม ได้แก่  คำสั่งยกทรัพย์สินหรือแบ่งทรัพย์สิน หรือวางข้อกำหนดใดๆอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเมื่อตายไปแล้ว หรือกรณีอื่นๆที่กฎหมายรับรองมีผลเมื่อตายไปแล้ว  เช่น การตั้งเป็นผู้ปกครองเด็ก  เป็นต้นและต้องทำให้ถูกกฎหมายกำหนดไว้ด้วย  จึงจะมีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย  ผู้รับพินัยกรรม ได้แก่  ผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในพีนัยกรรม